หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

การปรับปรุงพันธุ์ไก่พื้นเมือง

การปรับปรุงพันธุ์ไก่พื้นเมือง

           การที่จะเพิ่มมูลค่าของไก่พื้นเมืองจะต้องมีพันธุ์ไก่ที่ดี โดยเฉพาะไก่ชนจะต้องเป็นพันธุ์ที่แข็งแรง ในภาคกลางนิยมไก่ชนที่มีรูปร่างใหญ่ หนักประมาณ 3.0-4.5 กก. แต่ในภาคเหนือนิยมไก่ชนขนาดเล็ก น้ำหนักไม่เกิน 3.0 กก. ส่วนภาคใต้นิยมไก่ชนที่มีเดือยแหลมคม และทุกภาคชอบไก่ชนเก่ง การที่จะได้ไก่พันธุ์ดี ราคาสูง จะต้องทำการปรับปรุงพันธุ์ด้วยตัวเองอยู่อย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงพันธุ์มีหลักการโดยสรุป 2 หลัก ทำควบคู่กันเสมอๆ คือ หลักการผสมพันธุ์ กับหลักการคัดเลือกพันธุ์

           หลักการผสมพันธุ์  มี 2 แบบกว้าง ๆ คือ
           1. การผสมพันธุ์ระหว่าง พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่ไม่เป็นญาติกัน
           2. การผสมกันระหว่างญาติพี่น้องสายเลือดใกล้ชิด เรียกว่า การผสมแบบเลือดชิด แต่ในทางปฎิบัติเราหลีกเลี่ยงการผสมเลือดชิดค่อนข้างยาก เนื่องจากมีพ่อแม่พันธุ์จำนวนจำกัด ตามทฤษฎีแล้วเราสามารถผสมได้แต่สายเลือดไม่สูงเกินกว่า 49% โดยเฉพาะการปรับปรุงพันธุ์ไก่ให้ได้เลือดบริสุทธิ์หรือพันธุ์แท้ ถ้าผสมเลือดชิดสูงถึง 49% ก็จะได้พันธุ์ใหม่ หรือพันธุ์ของเราเองซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะพันธุ์ ในทางปฏิบัติทั่วๆ ไป เราจะพยายามให้เปอร์เซนต์การผสมเลือดชิดอยู่ระหว่า 15-25% อัตราการผสมเลือดชิดนี้จะเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ดังนั้น จึงต้องวางแผนว่าในระยะ 10 ปีข้างหน้า จะให้ฝูงไก่มีเลือดชิดกี่เปอร์เซนต์ เพื่อนำไปคำนวณหาว่า ควรจะมีพ่อแม่พันธุ์ในฝูงกี่ตัว
ตัวอย่าง 
           เราต้องการปรับปรุงพันธุ์ไก่ชน สายพันธุ์เหลืองหางขาว ซึ่งเป็นไก่ชนที่เรามีอยู่ และต้องการปรับปรุงพันธุ์ให้ดียิ่งๆ ขึ้น โดยคิดว่าจะไม่นำไก่จากที่อื่นมาผสมในระยะ 10 ปีข้างหน้า และจะพยายามหลีกเลี่ยงการผสมเลือดชิดให้มากที่สุด และกำหนดเพดานไว้ 25% หรือเท่ากับเพิ่มขึ้นปีละ 2.5% ซึ่งเป็นระดับที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไป ดังนั้น คำถามว่าเราควรตะมีพ่อแม่พันธุ์ไก่ที่ใช้สำหรับผลิตลูกทดแทนไว้ขยายพันธุ์ในปีต่อไปจำนวนกี่ตัว

วิธีคำนวณ หาจำนวนพ่อแม่พันธุ์

                1. อัตราการผสมเลือดชิดเพิ่มขึ้นต่อปี = 25/10 = 2.5%
                2. กำหนดจำนวนพ่อพันธุ์ที่เราจะใช้กี่ตัว ขึ้นอยู่กับเราว่ามีอยู่เท่าใด แต่แนะนำให้มีพ่อพันธุ์ในแต่ละปี ไม่ควรต่ำกว่า 10 ตัว ไม่เกิน 50 ตัว ที่พอเหมาะกับฟาร์มขนาดเล็กก็ประมาณ 10 ตัว ขนาดกลาง 20 ตัว
 แผนผังการผสมพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์
          หลังจากเราได้จำนวนพ่อและแม่พันธุ์ที่ใช้สำหรับผลิตลูกในการคัดเลือกพันธุ์ไว้ทดแทนในปีต่อไปแล้ว เราจำเป็นจะต้องวางแผนการผสมพันธุ์ว่าพ่อและแม่ตัวใดควรจะผสมกัน ทางวิชาการมีอยู่ 2 แบบ คือ ผสมแบบ 1 ต่อ 1 หรือ พ่อตัวหนึ่งผสมกับแม่หลายตัว เช่น 1:5 เป็นต้น แต่ที่เราได้จำนวนพ่อมา 10 ตัว แม่ 10 ตัว จึงควรวางแผนผังผสมแบบ 1:1 จะได้ลูกผสมพันธุ์ทั้งหมด 10 คู่ ซึ่งทางวิชาการเรียกว่า 10 สายพันธุ์ ในปีต่อไปจะปรับปรุงพันธุ์โดยยึด 10 สายพันธุ์เป็นหลักไปทุกๆ ปี ในแต่ละปี จะต้องผลิตลูกไก่คละเพศให้ได้คู่ละ 10-20 ตัว ในจำนวน 10-20 ตัวนี้ ให้คัดเลือกไว้ทำพันธุ์ทดแทนปีต่อไป 2 ตัว เป็นเพศผู้และเพศเมียอย่างละครึ่ง รวมลูกไก่ที่จะต้องผลิตในแต่ละปีเพื่อใช้ในการคัดเลือกพันธุ์เท่ากับ 100-200 ตัว และคัดเลือกไว้ทำพันธุ์ 10-20% ของจำนวนไก่ทั้งหมด ซึ่งคามเข้มข้นของการคัดพันธุ์ระดับนี้ จะทำให้การคัดเลือกเพื่อปรับปรุงพันธุ์ก้าวหน้าประสบผลสำเร็จ ในระยะเวลา 5-8 ปี หรือถ้าจะให้เร็วกว่านี้เราจะต้องเพิ่มจำนวนลูกที่จะต้องใช้ในการคัดเลือกพันธุ์จาก 200 ตัว เป็น 300 ตัว ซึ่งเท่ากับ (20/300)X100=6.67% การวางแผนการผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ สรุปเป็นภาพแผนผังการผสมพันธุ์ได้ดังนี้
   การคัดเลือกพันธุ์
          จากแผนผังการผสมพันธุ์ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นลูกศรชี้ให้ทำการคัดเลือกพันธุ์ไว้ทดแทนปีต่อไป การคัดเลือกพันธุ์เป็นวิธีการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงพันธุ์ คือ เราต้องการพันธุ์ไก่พื้นเมืองพันธุ์แท้ที่มีลักษณะดังนี้
           1. รูปร่างใหญ่ สวยงาม น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ที่อายุ 5-6 เดือน เพศผู้หนัก 3.5-4.0 กก. เพศเมีย 2.5-3.0 กก. หรือตามขนาดของแต่ละท้องถิ่น
           2. เพศผู้มีลักษณะเป็นไก่ชน
           3. ชนเก่ง อดทน และฉลาด
           4. สุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง และทนทานต่อโรคพยาธิ
           5. เลี้ยงง่ายในสภาพชนบททั่วไป

          
           ในทางปฏิบัติการที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ เราจะต้องมีมาตรการวิธีการและหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพันธุ์ดังนี้
           1. การเจริญเติบโต รูปร่างใหญ่ มีน้ำหนักมาก เราสามารถคัดเลือกไก่ได้ ตั้งแต่อายุ 2 เดือน โดยที่ไก่เติบโตดีที่สุด และน้ำหนักมากที่สุด เมื่ออายุ 2 เดือน ส่วนใหญ่จะเป็นไก่ที่ตัวใหญ่ และน้ำหนักมากเมื่ออายุ 5-6 เดือน
           2. การคัดเลือกเพื่อให้ได้วัตถุประสงค์ข้อ 2 และข้อ 4,5 ให้ใช้เกณฑ์การตัดสินไก่ชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น