หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยงไก่แจ้ในประเทศไทย

แจ้ไทย ผู้เป็นกรรมการประกวดไก่แจ้มาหลายปี (ปัจจุบันถึงแก่กรรมไปแล้ว) และเป็นผู้วางมาตรฐานไก่แจ้ไทย จากมาตรฐานที่คุณประยูร ได้วางไว้ จึงหน้าจะเป็นเอกลักษณ์ ย้ำคุณค่าในความเป็นไทยที่ไม่ควรมองข้าม
ไก่แจ้ หรือที่เราเรียกว่า “ไก่วัด” หรือ “ไก่ต้อย” หมายถึงไก่แจ้ที่เรียกต่างๆกันในบางท้องถิ่น เป็นไก่ตัวเล็ก เตี้ยแจ้ สีขนสวยน่ารักมาก ถือเป็นไก่พื้นเมืองของไทยมานาน ซึ่งสายพันธุ์มาจากไก่ป่าที่ชุกชุมมากในอดีต ชาวบ้านไม่นิยมเลี้ยงจึงนำไปปล่อยวัด กลายเป็นไก่วัด ทั้งนี้เชื่อกันว่าไก่แจ้เป็นไก่พิการ เตี้ยแคระ เป็นไก่นอกคอก ใครเลี้ยงไว้จะไม่เป็นมงคล ตราบเมื่อ 70 ปีก่อน จึงมีการนำไก่แจ้มาเลี้ยงตามบ้าน จนกระทั่งทุกวันนี้ ความเชื่อเก่าๆได้จางหายไปหมดแล้ว เหลือแต่การแสวงหาไก่แจ้คุณลักษณะเด่นและดีมาเลี้ยงกันประมาณปี พ.ศ.2518-2521 นับเป็นยุคทองของไก่แจ้ไทย ซึ่งเป็นยุคก่อนหน้าที่จะเป็นยุคทองของไม้ดอก
ไม้ประดับ ประเภทบอนสี ว่านและโกศล ช่วงนั้นวงการไก่แจ้ตื่นตัวมาก ราคาไก่แจ้ที่มีคุณลักษณะดีๆ สนนราคาขายกันตัวละหมื่นกว่าบาท หรือตัวไหนที่ว่าไม่ดีก็เป็นหลักร้อยหลักพัน ในขณะเดียวกัน ก็มีการนำพันธุ์ไก่แจ้ญี่ปุ่นเข้ามา ทำให้วงการไก่แจ้บ้านเราคึกคักสุดขีด พ่อค้าไก่แจ้ได้นำไก่ทั้งสองสายพันธุ์มาผสมกัน สัดส่วนผู้นิยมเลี้ยงไก่แจ้ญี่ปุ่นหรือลูกผสมกับไก่ญี่ปุ่น กลับมากกว่าผู้นิยมเลี้ยงไก่แจ้ไทยแท้ๆ เกิดการหักเหมาตรฐานไปทางไก่ญี่ปุ่นมากขึ้น กระทั่งมีการปั่นราคาไก่แจ้ ซื้อขายกันในราคาที่สูงเกินยุติธรรมที่คนจะเลี้ยงกันได้ ต่อมาไม่นานวงการไก่แจ้ก็ถึงจุดอิ่มตัวราคาไก่ตกฮวบคนที่เคยเลี้ยงและสนใจอยากเลี้ยงก็พลอยอิ่มตัวไปด้วย ไก่แจ้ดีๆแต่ตลาดการค้าได้วายไปแล้ว จึงถูกทอดทิ้งขาดการเลี้ยงดู ขาดการคัดเลือกสายพันธุ์ ขาดนักผสมพันธุ์ไก่แจ้ชั้นดีไป กระทั่งประมาณปี พ.ศ.2526 จึงมีการก่อตั้งชมรม ผู้เลี้ยงไก่แจ้ เพื่อฟื้นฟูความรุ่งโรจน์ให้หวนกลับสู่วงการผู้เลี้ยงไก่แจ้อีกครั้งหนึ่ง  ตั้งแต่ปี พ.ศ.2529 เป็นต้นมาถึงปัจจุบันนี้  ความรุ่งเรืองคึกคักในวงการไก่แจ้ก็กลับมาอีกครั้ง โดยเฉพาะต้นปี พ.ศ.2542 ส่อให้เห็นว่าวงการไก่แจ้จะกลับมาฮือฮากันอีกในไม่ช้านี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น