หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

การอนุรักษ์และการพัฒนาไก่พื้นเมือง


การอนุรักษ์และการพัฒนาไก่พื้นเมือง

            การอนุรักษ์ หมายถึง การรักษาดำรงไว้ซึ่งแหล่งพันธุกรรมไก่พื้นเมืองและรวมไปถึงการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แบบยั่งยืน คือ ใช้แล้วไม่หมดไป
สูญหายไป ทั้งนี้เพราะไก่พื้นเมืองมีพันธุกรรมที่ดีในเรื่องรสชาดและความอร่อยเป็นคุณสมบัติเฉพาะ การอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมสัตว์โดยทั่วไปมี 2 แบบ
คือ การอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดเดิม และนอกถิ่นกำเนิด แต่การอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดเดิม คืออยู่กับเกษตรกรโดยตรงจะเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด เพราะว่าจุดประสงค์ของการอนุรักษ์มุ่งเน้น เพิ่มรายได้เกษตรกรรายย่อย และการอนุรักษ์โดยวิธีนี้จะสามารถรักษาและดำรงไว้ซึ่งความหลากหลายในด้าน
แหล่งพันธุกรรมหรือสายพันธุ์ ลดความเสี่ยงต่อการสูญหาย เพราะไก่ในแต่ละครอบครัวของเกษตรกร จะมีคุณสมบัติทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน เช่น อัตรา
การเจริญเติบโต ขนาดของลำตัว สีขน ความยาวของแข้ง หรืออวัยวะต่างๆ จะผันแปรไปตามสภาพแวดล้อม โดยไก่จะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ
แต่เนื่องจาก การศึกษาและวิจัยประสบการณ์ของผู้รายงานนี้พบว่า การแสดงออกทางพันธุกรรมของไก่พื้นเมืองเห็นได้ชัดเจน เมื่อไก่นั้นอยู่ในสภาพ
ธรรมชาติที่อาหารการกินไม่อุดมสมบูรณ์ เช่น ในช่วงที่อาหารขาดแคลน หรือคุณภาพอาหารไม่สมดุลจะเห็นว่าการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์จะ
แปรปรวนเห็นได้ชัดจากที่ไม่สามารถขยายพันธุ์ไปจนถึงขยายพันธุ์ได้จำนวนมากมายภายใต้สภาพแวดล้อมอันเดียวกัน ซึ่งเป็นการปรับตัวเข้ากับสภาพ
แวดล้อม และวิวัฒนาการไปตามการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติเศรษฐกิจและสังคม จึงนับได้ว่าการอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดเดิมจึงเป็นวิธีการอนุรักษ์ที่ถูกต้อง
ที่สุด ได้รับการยอมรับสนับสนุนทั่วโลก
  
 
  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น