หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

การเลี้ยงไก่แจ้ในประเทศไทย

แจ้ไทย ผู้เป็นกรรมการประกวดไก่แจ้มาหลายปี (ปัจจุบันถึงแก่กรรมไปแล้ว) และเป็นผู้วางมาตรฐานไก่แจ้ไทย จากมาตรฐานที่คุณประยูร ได้วางไว้ จึงหน้าจะเป็นเอกลักษณ์ ย้ำคุณค่าในความเป็นไทยที่ไม่ควรมองข้าม
ไก่แจ้ หรือที่เราเรียกว่า “ไก่วัด” หรือ “ไก่ต้อย” หมายถึงไก่แจ้ที่เรียกต่างๆกันในบางท้องถิ่น เป็นไก่ตัวเล็ก เตี้ยแจ้ สีขนสวยน่ารักมาก ถือเป็นไก่พื้นเมืองของไทยมานาน ซึ่งสายพันธุ์มาจากไก่ป่าที่ชุกชุมมากในอดีต ชาวบ้านไม่นิยมเลี้ยงจึงนำไปปล่อยวัด กลายเป็นไก่วัด ทั้งนี้เชื่อกันว่าไก่แจ้เป็นไก่พิการ เตี้ยแคระ เป็นไก่นอกคอก ใครเลี้ยงไว้จะไม่เป็นมงคล ตราบเมื่อ 70 ปีก่อน จึงมีการนำไก่แจ้มาเลี้ยงตามบ้าน จนกระทั่งทุกวันนี้ ความเชื่อเก่าๆได้จางหายไปหมดแล้ว เหลือแต่การแสวงหาไก่แจ้คุณลักษณะเด่นและดีมาเลี้ยงกันประมาณปี พ.ศ.2518-2521 นับเป็นยุคทองของไก่แจ้ไทย ซึ่งเป็นยุคก่อนหน้าที่จะเป็นยุคทองของไม้ดอก
ไม้ประดับ ประเภทบอนสี ว่านและโกศล ช่วงนั้นวงการไก่แจ้ตื่นตัวมาก ราคาไก่แจ้ที่มีคุณลักษณะดีๆ สนนราคาขายกันตัวละหมื่นกว่าบาท หรือตัวไหนที่ว่าไม่ดีก็เป็นหลักร้อยหลักพัน ในขณะเดียวกัน ก็มีการนำพันธุ์ไก่แจ้ญี่ปุ่นเข้ามา ทำให้วงการไก่แจ้บ้านเราคึกคักสุดขีด พ่อค้าไก่แจ้ได้นำไก่ทั้งสองสายพันธุ์มาผสมกัน สัดส่วนผู้นิยมเลี้ยงไก่แจ้ญี่ปุ่นหรือลูกผสมกับไก่ญี่ปุ่น กลับมากกว่าผู้นิยมเลี้ยงไก่แจ้ไทยแท้ๆ เกิดการหักเหมาตรฐานไปทางไก่ญี่ปุ่นมากขึ้น กระทั่งมีการปั่นราคาไก่แจ้ ซื้อขายกันในราคาที่สูงเกินยุติธรรมที่คนจะเลี้ยงกันได้ ต่อมาไม่นานวงการไก่แจ้ก็ถึงจุดอิ่มตัวราคาไก่ตกฮวบคนที่เคยเลี้ยงและสนใจอยากเลี้ยงก็พลอยอิ่มตัวไปด้วย ไก่แจ้ดีๆแต่ตลาดการค้าได้วายไปแล้ว จึงถูกทอดทิ้งขาดการเลี้ยงดู ขาดการคัดเลือกสายพันธุ์ ขาดนักผสมพันธุ์ไก่แจ้ชั้นดีไป กระทั่งประมาณปี พ.ศ.2526 จึงมีการก่อตั้งชมรม ผู้เลี้ยงไก่แจ้ เพื่อฟื้นฟูความรุ่งโรจน์ให้หวนกลับสู่วงการผู้เลี้ยงไก่แจ้อีกครั้งหนึ่ง  ตั้งแต่ปี พ.ศ.2529 เป็นต้นมาถึงปัจจุบันนี้  ความรุ่งเรืองคึกคักในวงการไก่แจ้ก็กลับมาอีกครั้ง โดยเฉพาะต้นปี พ.ศ.2542 ส่อให้เห็นว่าวงการไก่แจ้จะกลับมาฮือฮากันอีกในไม่ช้านี้

เทคนิคการเลี้ยงไก่เนื้อ

เทคนิคการเลี้ยงไก่เนื้อต้นทุนต่ำ ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง (อ่าน 8499 ครั้ง)
วันที่ : 20 ก.ค. 2553, 9:19:53 น.
หมวดหมู่ : ปศุสัตว์ กลุ่ม : สัตว์ปีก

การเลี้ยงไก่เนื้อ เป็นอาชีพเกษตรสาขาหนึ่งที่สร้างรายได้ให้ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงเอง หรือรับจ้างเลี้ยงก็ได้ เพราะตลาดมีความต้องการไก่เนื้ออยู่ตลอดเวลา บริษัทเอกชนจะจ้างเกษตรกรเลี้ยงไก่เนื้อเป็นจำนวนมาก เนื้อไก่เป็นอาหารที่ให้โปรตีนแก่ร่างกาย มีราคาถูก นิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานกันทั่วไป นอกจากนี้มูลไก่ยังสามารถทำปุ๋ยคอกได้เพราะมีธาตุอาหารสูง
chik1_20100720.gif
การเลี้ยงไก่เนื้อ

สร้างโรงเรือนแบบหน้าจั่ว มุงด้วยแฝกขนาดกว้าง 14 เมตร ยาว 100 เมตร ต้องมีการถ่ายเทอากาศได้ดี ฝาโรงเรือนเป็นมุ้งตาข่ายเพื่อกันลม กันหนู และงูได้
ปรับพื้นอัดดินให้แน่นและเรียบ แล้วโรยปูนขาวเพื่อกันเชื้อโรค และแมลง ปูพื้นด้วยแกลบแล้วพ่นยาฆ่าเชื้อ พักเล้าไว้ประมาณ 10 วัน แล้วติดตั้งที่ให้อาหารและน้ำ
การเตรียมอาหารสำหรับไก่เนื้อ 1000 ตัว
ช่วง 1-28 วัน ใช้อาหาร 38 ถุง
ช่วง 29-42 วัน ใช้อาหาร 66 ถุง
chik2_20100720.gif
ขั้นตอนการเลี้ยงไก่เนื้อ

1. นำไก่เนื้อเกรด A อายุ 1 วัน มาเลี้ยงในเล้ากก ควบคุมอุณหภูมิโดยใช้หลอดไฟ 100 แรงเทียนหรือจะใช้แก๊สอบ เพื่อให้ลูกไก่ได้รับความอบอุ่น ก่อนนำไก่ลงเล้ากก หว่านสเม็คไทต์ผง บางๆให้ทั่วเล้ากกและผสม ไคโตซาน มิกซ์ฟีด ในอัตราส่วน 10 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต อัตราการใช้พื้นที่เลี้ยง ขึ้นกับอุณหภูมิอากาศ เช่น
ฤดูร้อน 32 องศาเซลเซียส ควรปล่อยลูกไก่ 7.5-8 ตัว/ตร.ม.
ฤดูฝน 25 องศาเซลเซียส ควรปล่อยลูกไก่ 8.0-8.5 ตัว/ตร.ม.
ฤดูหนาว ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ควรปล่อยลูกไก่ 9.5-10 ตัว/ตร.ม
เมื่อครบ 10 วัน ให้วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล และควรให้ลูกไก่ได้รับโปรตีนไม่น้อย 21 % ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 3 สัปดาห์ โดยช่วงนี้เริ่มใช้สเม็คไทต์ผง คลุกเคล้าในอัตราส่วน 3 % ของอาหาร เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อราในอาหาร ที่สร้างสารพิษที่ เรียกว่า สารอะฟลาท๊อกซิน นอกจากนั้นในวัตถุดิบอาหารสัตว์บางครั้งอาจมีสารพิษตกค้างจากสารเคมีที่ใช้ เช่น ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช ซึ่งปะปนในอาหารสัตว์ เมื่อสัตว์กินเข้าไป จะทำให้ตับถูกทำลาย หรือเป็นมะเร็งที่ตับได้ แต่ในไก่สามารถสังเกตได้ว่าไก่จะถ่ายเหลว หรือท้องเสีย ซึ่งเป็นสาเหตุการตายส่วนหนึ่งของไก่เนื้อ การป้องกันอีกวิธีหนึ่งคือการผสมไคโตซาน มิกซ์ฟีด ในอัตรา 10 ซีซี. น้ำ 20 ลิตร ให้ไก่กินช่วยกระตุ้นการกินอาหาร เสริมประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร ช่วยให้การเจริญดีขึ้น
chik3_20100720.gif
เมื่อไก่อายุครบ 48-50 วัน น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 2.2 กิโลกรัม พยายามควบคุมไม่ให้ไก่ตายเกิน 5 % ผู้เลี้ยงจะได้ค่าเลี้ยงเป็นผลตอบแทนตามที่ตกลงไว้ อายุไก่ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียสูง เนื่องการเป็นช่วงเร่งการเจริญเติบโต ทั้งการเพิ่มอาหารที่เปอร์เซ็นต์โปรตีนสูง พื้นที่ความหนาแน่นของจำนวนไก่ การแย่งอากาศ ความเครียด และการสะสมของแอมโมเนีย เนื่องจากพื้นคอกไม่ได้ทำความสะอาด หรือเปลี่ยนถ่าย ซึ่งสาเหตุนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไก่ตายช่วงใกล้จะจำหน่าย ปัญหานี้การจัดการคือเพิ่มปริมาณการหว่านสเม็คไทต์ให้ถี่ขึ้น การสังเกตจากกลิ่นแอมโมเนียในโรงเรือน โดยการนั่งยองๆ ก้มหัวลงให้ใกล้ระดับพื้นคอก สังเกตจุดที่มีกลิ่นเหม็นแล้วทำการหว่านสเม็คไทต์ทับ
**หมายเหตุ หากนำมูลไก่ที่หว่านโรยด้วยสเม็คไทต์ไปใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ จะเป็นปุ๋ยละลายช้าที่มีซิลิก้า ช่วยให้พืช แข็งแกร่ง ต้านทาน โรค แมลงได้ดีขึ้น เคล็ดลับ การเลี้ยงไก่เนื้อให้คุณภาพดี ต้องรักษาความสะอาด การสุขาภิบาลและควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม เพราะไก่จะเสี่ยงกับการเป็นโรคหวัดได้ง่าย ระวังอย่าให้เสียงดังรบกวนไก่เนื้อ เพราะอาจทำให้ไก่ตกใจและตายได้ อาจใช้การเปิดเสียงเพลงเบาๆ เพื่อไม่ให้ไก่ตกใจกับเสียงภายนอกมากเกินไป
เขียนและรายงานโดย พิพัฒนะ เครือชาลี
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
www.thaigreenagro.com

เทคนิคการเลี้ยงไก่เนื้อต้นทุนต่ำ ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง (อ่าน 8499 ครั้ง)
วันที่ : 20 ก.ค. 2553, 9:19:53 น.
หมวดหมู่ : ปศุสัตว์ กลุ่ม : สัตว์ปีก

การเลี้ยงไก่เนื้อ เป็นอาชีพเกษตรสาขาหนึ่งที่สร้างรายได้ให้ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงเอง หรือรับจ้างเลี้ยงก็ได้ เพราะตลาดมีความต้องการไก่เนื้ออยู่ตลอดเวลา บริษัทเอกชนจะจ้างเกษตรกรเลี้ยงไก่เนื้อเป็นจำนวนมาก เนื้อไก่เป็นอาหารที่ให้โปรตีนแก่ร่างกาย มีราคาถูก นิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานกันทั่วไป นอกจากนี้มูลไก่ยังสามารถทำปุ๋ยคอกได้เพราะมีธาตุอาหารสูง
chik1_20100720.gif
การเลี้ยงไก่เนื้อ

สร้างโรงเรือนแบบหน้าจั่ว มุงด้วยแฝกขนาดกว้าง 14 เมตร ยาว 100 เมตร ต้องมีการถ่ายเทอากาศได้ดี ฝาโรงเรือนเป็นมุ้งตาข่ายเพื่อกันลม กันหนู และงูได้
ปรับพื้นอัดดินให้แน่นและเรียบ แล้วโรยปูนขาวเพื่อกันเชื้อโรค และแมลง ปูพื้นด้วยแกลบแล้วพ่นยาฆ่าเชื้อ พักเล้าไว้ประมาณ 10 วัน แล้วติดตั้งที่ให้อาหารและน้ำ
การเตรียมอาหารสำหรับไก่เนื้อ 1000 ตัว
ช่วง 1-28 วัน ใช้อาหาร 38 ถุง
ช่วง 29-42 วัน ใช้อาหาร 66 ถุง
chik2_20100720.gif
ขั้นตอนการเลี้ยงไก่เนื้อ

1. นำไก่เนื้อเกรด A อายุ 1 วัน มาเลี้ยงในเล้ากก ควบคุมอุณหภูมิโดยใช้หลอดไฟ 100 แรงเทียนหรือจะใช้แก๊สอบ เพื่อให้ลูกไก่ได้รับความอบอุ่น ก่อนนำไก่ลงเล้ากก หว่านสเม็คไทต์ผง บางๆให้ทั่วเล้ากกและผสม ไคโตซาน มิกซ์ฟีด ในอัตราส่วน 10 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต อัตราการใช้พื้นที่เลี้ยง ขึ้นกับอุณหภูมิอากาศ เช่น
ฤดูร้อน 32 องศาเซลเซียส ควรปล่อยลูกไก่ 7.5-8 ตัว/ตร.ม.
ฤดูฝน 25 องศาเซลเซียส ควรปล่อยลูกไก่ 8.0-8.5 ตัว/ตร.ม.
ฤดูหนาว ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ควรปล่อยลูกไก่ 9.5-10 ตัว/ตร.ม
เมื่อครบ 10 วัน ให้วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล และควรให้ลูกไก่ได้รับโปรตีนไม่น้อย 21 % ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 3 สัปดาห์ โดยช่วงนี้เริ่มใช้สเม็คไทต์ผง คลุกเคล้าในอัตราส่วน 3 % ของอาหาร เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อราในอาหาร ที่สร้างสารพิษที่ เรียกว่า สารอะฟลาท๊อกซิน นอกจากนั้นในวัตถุดิบอาหารสัตว์บางครั้งอาจมีสารพิษตกค้างจากสารเคมีที่ใช้ เช่น ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช ซึ่งปะปนในอาหารสัตว์ เมื่อสัตว์กินเข้าไป จะทำให้ตับถูกทำลาย หรือเป็นมะเร็งที่ตับได้ แต่ในไก่สามารถสังเกตได้ว่าไก่จะถ่ายเหลว หรือท้องเสีย ซึ่งเป็นสาเหตุการตายส่วนหนึ่งของไก่เนื้อ การป้องกันอีกวิธีหนึ่งคือการผสมไคโตซาน มิกซ์ฟีด ในอัตรา 10 ซีซี. น้ำ 20 ลิตร ให้ไก่กินช่วยกระตุ้นการกินอาหาร เสริมประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร ช่วยให้การเจริญดีขึ้น
chik3_20100720.gif
เมื่อไก่อายุครบ 48-50 วัน น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 2.2 กิโลกรัม พยายามควบคุมไม่ให้ไก่ตายเกิน 5 % ผู้เลี้ยงจะได้ค่าเลี้ยงเป็นผลตอบแทนตามที่ตกลงไว้ อายุไก่ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียสูง เนื่องการเป็นช่วงเร่งการเจริญเติบโต ทั้งการเพิ่มอาหารที่เปอร์เซ็นต์โปรตีนสูง พื้นที่ความหนาแน่นของจำนวนไก่ การแย่งอากาศ ความเครียด และการสะสมของแอมโมเนีย เนื่องจากพื้นคอกไม่ได้ทำความสะอาด หรือเปลี่ยนถ่าย ซึ่งสาเหตุนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไก่ตายช่วงใกล้จะจำหน่าย ปัญหานี้การจัดการคือเพิ่มปริมาณการหว่านสเม็คไทต์ให้ถี่ขึ้น การสังเกตจากกลิ่นแอมโมเนียในโรงเรือน โดยการนั่งยองๆ ก้มหัวลงให้ใกล้ระดับพื้นคอก สังเกตจุดที่มีกลิ่นเหม็นแล้วทำการหว่านสเม็คไทต์ทับ
**หมายเหตุ หากนำมูลไก่ที่หว่านโรยด้วยสเม็คไทต์ไปใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ จะเป็นปุ๋ยละลายช้าที่มีซิลิก้า ช่วยให้พืช แข็งแกร่ง ต้านทาน โรค แมลงได้ดีขึ้น เคล็ดลับ การเลี้ยงไก่เนื้อให้คุณภาพดี ต้องรักษาความสะอาด การสุขาภิบาลและควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม เพราะไก่จะเสี่ยงกับการเป็นโรคหวัดได้ง่าย ระวังอย่าให้เสียงดังรบกวนไก่เนื้อ เพราะอาจทำให้ไก่ตกใจและตายได้ อาจใช้การเปิดเสียงเพลงเบาๆ เพื่อไม่ให้ไก่ตกใจกับเสียงภายนอกมากเกินไป
เขียนและรายงานโดย พิพัฒนะ เครือชาลี
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
www.thaigreenagro.com
เทคนิคการเลี้ยงไก่เนื้อต้นทุนต่ำ ปลอดภัย ไร้สารตกค้าง (อ่าน 8499 ครั้ง)
วันที่ : 20 ก.ค. 2553, 9:19:53 น.
หมวดหมู่ : ปศุสัตว์ กลุ่ม : สัตว์ปีก

การเลี้ยงไก่เนื้อ เป็นอาชีพเกษตรสาขาหนึ่งที่สร้างรายได้ให้ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงเอง หรือรับจ้างเลี้ยงก็ได้ เพราะตลาดมีความต้องการไก่เนื้ออยู่ตลอดเวลา บริษัทเอกชนจะจ้างเกษตรกรเลี้ยงไก่เนื้อเป็นจำนวนมาก เนื้อไก่เป็นอาหารที่ให้โปรตีนแก่ร่างกาย มีราคาถูก นิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานกันทั่วไป นอกจากนี้มูลไก่ยังสามารถทำปุ๋ยคอกได้เพราะมีธาตุอาหารสูง
chik1_20100720.gif
การเลี้ยงไก่เนื้อ

สร้างโรงเรือนแบบหน้าจั่ว มุงด้วยแฝกขนาดกว้าง 14 เมตร ยาว 100 เมตร ต้องมีการถ่ายเทอากาศได้ดี ฝาโรงเรือนเป็นมุ้งตาข่ายเพื่อกันลม กันหนู และงูได้
ปรับพื้นอัดดินให้แน่นและเรียบ แล้วโรยปูนขาวเพื่อกันเชื้อโรค และแมลง ปูพื้นด้วยแกลบแล้วพ่นยาฆ่าเชื้อ พักเล้าไว้ประมาณ 10 วัน แล้วติดตั้งที่ให้อาหารและน้ำ
การเตรียมอาหารสำหรับไก่เนื้อ 1000 ตัว
ช่วง 1-28 วัน ใช้อาหาร 38 ถุง
ช่วง 29-42 วัน ใช้อาหาร 66 ถุง
chik2_20100720.gif
ขั้นตอนการเลี้ยงไก่เนื้อ

1. นำไก่เนื้อเกรด A อายุ 1 วัน มาเลี้ยงในเล้ากก ควบคุมอุณหภูมิโดยใช้หลอดไฟ 100 แรงเทียนหรือจะใช้แก๊สอบ เพื่อให้ลูกไก่ได้รับความอบอุ่น ก่อนนำไก่ลงเล้ากก หว่านสเม็คไทต์ผง บางๆให้ทั่วเล้ากกและผสม ไคโตซาน มิกซ์ฟีด ในอัตราส่วน 10 ซีซี.ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโต อัตราการใช้พื้นที่เลี้ยง ขึ้นกับอุณหภูมิอากาศ เช่น
ฤดูร้อน 32 องศาเซลเซียส ควรปล่อยลูกไก่ 7.5-8 ตัว/ตร.ม.
ฤดูฝน 25 องศาเซลเซียส ควรปล่อยลูกไก่ 8.0-8.5 ตัว/ตร.ม.
ฤดูหนาว ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ควรปล่อยลูกไก่ 9.5-10 ตัว/ตร.ม
เมื่อครบ 10 วัน ให้วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิล และควรให้ลูกไก่ได้รับโปรตีนไม่น้อย 21 % ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 3 สัปดาห์ โดยช่วงนี้เริ่มใช้สเม็คไทต์ผง คลุกเคล้าในอัตราส่วน 3 % ของอาหาร เพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อราในอาหาร ที่สร้างสารพิษที่ เรียกว่า สารอะฟลาท๊อกซิน นอกจากนั้นในวัตถุดิบอาหารสัตว์บางครั้งอาจมีสารพิษตกค้างจากสารเคมีที่ใช้ เช่น ยาฆ่าแมลง ยากำจัดวัชพืช ซึ่งปะปนในอาหารสัตว์ เมื่อสัตว์กินเข้าไป จะทำให้ตับถูกทำลาย หรือเป็นมะเร็งที่ตับได้ แต่ในไก่สามารถสังเกตได้ว่าไก่จะถ่ายเหลว หรือท้องเสีย ซึ่งเป็นสาเหตุการตายส่วนหนึ่งของไก่เนื้อ การป้องกันอีกวิธีหนึ่งคือการผสมไคโตซาน มิกซ์ฟีด ในอัตรา 10 ซีซี. น้ำ 20 ลิตร ให้ไก่กินช่วยกระตุ้นการกินอาหาร เสริมประสิทธิภาพในการย่อยอาหาร ช่วยให้การเจริญดีขึ้น
chik3_20100720.gif
เมื่อไก่อายุครบ 48-50 วัน น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ 2.2 กิโลกรัม พยายามควบคุมไม่ให้ไก่ตายเกิน 5 % ผู้เลี้ยงจะได้ค่าเลี้ยงเป็นผลตอบแทนตามที่ตกลงไว้ อายุไก่ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียสูง เนื่องการเป็นช่วงเร่งการเจริญเติบโต ทั้งการเพิ่มอาหารที่เปอร์เซ็นต์โปรตีนสูง พื้นที่ความหนาแน่นของจำนวนไก่ การแย่งอากาศ ความเครียด และการสะสมของแอมโมเนีย เนื่องจากพื้นคอกไม่ได้ทำความสะอาด หรือเปลี่ยนถ่าย ซึ่งสาเหตุนี้เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ไก่ตายช่วงใกล้จะจำหน่าย ปัญหานี้การจัดการคือเพิ่มปริมาณการหว่านสเม็คไทต์ให้ถี่ขึ้น การสังเกตจากกลิ่นแอมโมเนียในโรงเรือน โดยการนั่งยองๆ ก้มหัวลงให้ใกล้ระดับพื้นคอก สังเกตจุดที่มีกลิ่นเหม็นแล้วทำการหว่านสเม็คไทต์ทับ
**หมายเหตุ หากนำมูลไก่ที่หว่านโรยด้วยสเม็คไทต์ไปใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ จะเป็นปุ๋ยละลายช้าที่มีซิลิก้า ช่วยให้พืช แข็งแกร่ง ต้านทาน โรค แมลงได้ดีขึ้น เคล็ดลับ การเลี้ยงไก่เนื้อให้คุณภาพดี ต้องรักษาความสะอาด การสุขาภิบาลและควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม เพราะไก่จะเสี่ยงกับการเป็นโรคหวัดได้ง่าย ระวังอย่าให้เสียงดังรบกวนไก่เนื้อ เพราะอาจทำให้ไก่ตกใจและตายได้ อาจใช้การเปิดเสียงเพลงเบาๆ เพื่อไม่ให้ไก่ตกใจกับเสียงภายนอกมากเกินไป
เขียนและรายงานโดย พิพัฒนะ เครือชาลี
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
www.thaigreenagro.com
การเลี้ยงไก่เนื้อ   
 
          การเลี้ยงไก่เนื้อ   เป็นอาชีพเกษตรสาขาหนึ่งที่สร้างรายได้ให้ผู้เลี้ยงสามารถเลี้ยงเอง  หรือรับจ้างเลี้ยงก็ได้  เพราะตลาดมีความต้องการไก่เนื้ออยู่ตลอดเวลา  บริษัทเอกชนจะจ้างเกษตรกรเลี้ยงไก่เนื้อเป็นจำนวนมาก           เนื้อไก่เป็นอาหารที่ให้โปรตีนแก่ร่างกาย  มีราคาถูก  นิยมนำมาประกอบอาหารรับประทานกันทั่วไป  นอกจากนี้มูลไก่ยังสามารถทำปุ๋ยคอกได้เพราะมีธาตุอาหารสูง  ในการเลี้ยงไก่เนื้อ  ผู้เลี้ยงต้องตัดสินใจว่าจะเลี้ยงไก่เนื้อพันธุ์อะไร  ขนาดของฟาร์มเท่าใด  วางแผนในเรื่องของโรงเรือน  เครื่องมืออุปกรณ์  ค่าแรงงาน  ค่าน้ำ และค่าไฟ
          สำหรับบริษัทเอกชนที่ว่าจ้างจะทำหน้าที่ผลิตลูกไก่เนื้อ  บริการอาหาร  การให้วัคซีน  การขนส่งหรือให้คำแนะนำต่าง ๆ ซึ่งบริษัทเอกชนที่ว่าจ้างจะให้ความช่วยเหลือในเรื่องการเลี้ยงดู  จนสามารถจำหน่ายได้  พร้อมให้ผลตอบแทนแก่ผู้เลี้ยงตามเงื่อนไขที่ตกลงกัน
การเลี้ยงไก่เนื้อ
          สร้างโรงเรือนแบบหน้าจั่ว  มุงด้วยแฝกขนาดกว้าง  14  เมตร  ยาว 100  เมตร ต้องมีการถ่ายเทอากาศได้ดี  ฝาโรงเรือนเป็นมุ้งตาข่ายเพื่อกันลม  กันหนู  และงูได้
          ปรับพื้นอัดดินให้แน่นและเรียบ  แล้วโรยปูนขาวเพื่อกันเชื้อโรค  และแมลง ปูพื้นด้วยแกลบแล้วพ่นยาฆ่าเชื้อ  พักเล้าไว้ประมาณ  10  วัน  แล้วติดตั้งที่ให้อาหารและน้ำ
          นำไก่เนื้อเกรด  A  อายุ  1  วัน  มาเลี้ยงในเล้ากก  ควบคุมอุณหภูมิโดยใช้หลอดไฟ  100 แรงเทียนหรือจะใช้แก๊สอบ  เพื่อให้ลูกไก่ได้รับความอบอุ่น
          เมื่อครบ  10  วัน  ให้วัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิ่น  และควรให้ลูกไก่ได้รับโปรตีนไม่น้อย  21 %  ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ  3  สัปดาห์
          เมื่อไก่อายุครบ  48-50  วัน  น้ำหนักเฉลี่ยประมาณ  2.2  กิโลกรัม พยายามควบคุมไม่ให้ไก่ตายเกิน  5 %  ผู้เลี้ยงจะได้ค่าเลี้ยงเป็นผลตอบแทนตามที่ตกลงไว้ การจัดจำหน่าย
          บริษัทเอกชนที่ว่าจ้างจะมารับซื้อไก่เนื้อที่ฟาร์ม  เพื่อนำไปจำหน่ายต่อหรือทำการแปรรูป  แล้วส่งขายต่อตามตลาดสดต่าง ๆ
เคล็ดลับ
          การเลี้ยงไก่เนื้อให้คุณภาพดี  ต้องรักษาความสะอาด  การสุขาภิบาลและควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสม  เพราะไก่จะเสี่ยงกับการเป็นโรคหวัดได้ง่าย ระวังอย่าให้เสียงดังรบกวนไก่เนื้อ  เพราะอาจทำให้ไก่ตกใจและตายได้

เทคนิคการเลี้ยงไก่พม่าหนุ่มๆ


เมื่อคัดไก่พม่าได้แล้วสิ่งสำคัญที่จะทำให้ท่านประสบความสำเร็จในการเลี้ยงก็คือ ท่านจะต้องเข้าใจธรรมชาติของไก่พม่าที่สำคัญคือ

1. ไก่พม่ามันเปรียวจะเลี้ยงจะดูแลต้องใจเย็น ๆ ค่อย ๆ จับค่อย ๆ คลำ เขาจะได้ไม่ตื่นกลัว
2. การปล้ำเลี้ยงใหม่ ๆ ต้องปล้ำแต่น้อยอย่าให้เกิน 1 ยก พออายุ11 เดือนค่อยนำไปไล่อันกับไก่อ่อน ๆ เหมือนกัน สักสองอันเพื่อฝึกยืนระยะ อย่าไล่อันนานเพราะพม่าดี ๆ ตีไม่เกินสองอันแน่นอน ที่สำคัญไก่พม่าหนุ่มถ้าปล้ำเลี้ยง  หนัก ๆ เดี๋ยวพาลไม่สู้ไก่เอาจะลำบาก เลี้ยงพม่าต้องรออายุ รอกระดูก รอกล้ามเนื้อนิดหนึ่ง ไม่งั้นจะใจเสาะ
3. พอชนขวบเริ่มไล่อัน 3 อันขึ้นได้ และออกบ่อนป่าชมรมได้ ไก่พม่าถ้าสภาพสดได้อายุต้องรีบชน บางทีรอแข็งไม่ได้ ดังนั้นการเลี้ยนงไก่พม่าจึงเน้นการออกกำลังกายมากกว่าการปล้ำวาง เช่นเตะมุ้ง เตะเป้า เพราะพม่าตีกันไม่นาน ไม่ต้องรออัน4อัน5  อันเดียวสองอันจบแล้ว ยกเว้นการชนราคาแพงควรดูความแข็งประกอบด้วยเพราะไก่เก่งมักรบกันยืดเยื้อ
4. กรณีเลี้ยงพม่าลูกผสมอาจเพิ่มความเข้มในการเลี้ยงการปล้ำใกล้เคียงกับไก่ไทยครับ
5.ดังที่บอกแล้วในครั้งก่อนว่าไก่พม่าหนุ่ม ๆ อย่าพึ่งปล้ำกับไก่ป่าก๋อยประเภทกัด ๆ มากนัก เพราะลำตัวยังบอบบางโดนบ่อย ๆ อาจเสียไก่  ถ้าเจอควรจับออกก่อนที่จะเสียไก่ อย่ากลัวเสียหน้าเพราะกระดูกอ่อน ๆ นี่โดนเขาเคี้ยวแน่นอน แต่ถ้าเราแข็งและพริ้วไหวแล้วค่อยว่ากัน
6.ไก่พม่าต้องเลี้ยงสม่ำเสมอห้ามขาดช่วง เพราะเป็นไก่ที่ไวต่อธรรมชาติ หากขาดเลี้ยงเพียงช่วงสั้น ๆ อาจทำให้ไก่ชนผิดฟอร์มได้
7.สังเกตอาการไก่ให้ดีถ้าป่วยหรือผิดสังเกตเพียงเล็กน้อยก็ควรงดปล้ำงดนำไปชนอย่างเด็ดขาด เพราะไก่จะชนผิดฟอร์มทันที

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

โรคและการป้องกันโรค

โรคและการป้องกันโรค

โปรแกรมการทำวัคซีน

          การที่ไก่จะมีภูมิคุ้มโรคดีขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการ เช่น โปรแกรมการทำวัคซีนที่ดี การเลือกชนิดวัคซีนที่เหมาะสม และคุณาภาพดี วิธีการให้วัคซีน สภาพแวดล้อมและสุขภาพของฝูงไก่เอง ขณะที่ทำวัคซีน เป็นต้น นอกจากนี้ การที่ทำวัคซีนกับฝูงไก่พร้อมๆ กันยังยากที่จะให้ทุกตัวสร้างภูมิคุ้มกันโรคได้ดีเท่าเทียมกัน ถึงแม้ว่าทำวัคซีนไปแล้วได้ผลสมบูรณ์ตามเป้าหมาย แต่โรคอาจเกิดกับไก่เป็นบางส่วน ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคหมดเร็วกว่าที่ควร ดังนั้น บางครั้งจึงจำเป็นจ้องมีการทำวัคซีนซ้ำ


ข้อควรทราบก่อนการทำวัคซีน
1. ทำวัคซีนให้แก่สัตว์ที่มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และไม่เป็นโรคเท่านั้น
2. ศึกษารายละเอียดการเก็บรักษษ และการทำวัคซีนตามคำแนะนำเฉพาะของวัคซีนแต่ละชนิด เพื่อให้วัคซีนมีประสิทธิภาพดีที่สุด และสามารถเก็บรักษาได้นาน
3. ใช้วัคซีนตามคำแนะนำของสัตวแพทย์เท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่มีรโรคระบาดเกิดขึ้นแล้ว หรือเกิดโรคระบาดในบริเวณใกล้เคียง
4. วัคซีนสามารถใช้จนถึงวันหมดอายุที่ระบุไว้ข้างขวด
5. อย่ให้วัคซีนถูกความร้อนหรือแสงแดด และจ้องให้วัคซีนครบตามขนาดที่กำหนดไว้
6. หลังให้วัคซีนแก่สัตว์ที่กำลังจะนำไปส่งโรงฆ่า ควรเว้นช่วงเวลาตามคำแนะนำของวัคซีนแต่ละชนิด
7. วัคซีนที่เหลือจากการใช้ควรทิ้ง เพื่อหลีกเลี่ยงจากการปนเปื่อนด้วยเชื้อโรคอื่น ซึ่งจะทำให้คุณภาพวัคซีนลดลงและเป็นอันตรายในการนำไปใช้ครั้งต่อไป
8. ขวดบรรจุวัคซีนหรือภาชนะที่ใช้ในการผสมวัคซีน เมื่อใช้แล้วควรต้มหรือเผาทำลายเชื้อก่อนทิ้ง โดยเฉพาะวัคซีนเชื้อเป็น
9. ต้องใช้วัคซีนซ้ำเมื่อหมดระยะความคุ้มโรคของวัคซีนแต่ละชนิด
10. วัคซีนแบบที่ต้องผสมกับน้ำยาละลาย เมื่อผสมแล้วต้องใช้ให้หมาดภายใน 2 ชั่วโมง ระหว่างนั้นต้องเก็บในกระติกน้ำแข็ง
11. สัตว์บางตัวอาจเกิดการแพ้หลังฉีดวัคซีน ดังนั้นจึงควรรอสังเกตอาการสัตว์ภายหลังฉีดวัคซีนแล้วประมาณ 1 ชั่วดมง ถ้าเกิดอาการแพ้ให้รักษาด้วย แอดรีนาลีน หรือ แอนติฮีสตามีน
12. วัคซีนที่เสื่อมสภาพ หมาดอายุ มีการปนเปื้อน หรือสีของวัคซีนเปลี่ยนไปห้ามนำมาใช้
13. การฉีดวัคซีนให้ได้ผล ต้องพยายามฉีดให้แก่สัตว์ทุกตัวในหมู่บ้าน ยิ่งปริมาณสัตว์ที่ได้รับวัคซีนมาก ระดับภูมิคุ้มโรคในฝูงก็ยิ่งสูง โอกาสที่เกิดโรคระบาดจึงมีน้อย
14. การให้วัคซีนเพื่อสร้างระดับความคุ้มโรคในแม่พันธุ์ สามารถถ่ายทอดภูมิคุ้มกันให้ลูกได้ในระยะแรกเกิด
15. สัตว์จะป่วยหลังจากได้รับเชื้อโรคหรือไม่ ขึ้นอยู่กับปริมาณและความรุนแรงของเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย หากเชื้อโาคมีปริมาณและความรุนแรงมากอาจทำให้สัตว์เป็นโรคได้
16. ไม่ควรหลังผลจากการฉีดวัคซีนแต่เพียงแย่างเดียว การป้องกันการติดโรคจากแหล่งอื่น การจัดการและการสุขภิบาลที่ดีจะช่วยป้องกันการเกิดโรคได้ดีที่สุด


อาย
วัคซีนที่ใช้
อหิวาต์
เป็ด-ไก่
นิวคาสเซิล
เชื้อเป็น
สเตรน ลาโซต้า
นิวคาสเซิล
เชื้อตาย
สเตรน ลาโซต้า
กัมโบโร
เชื้อเป็น
สเตรนซี ยู วัน เอ็ม
กันโบโร
เชื้อตาย
สเตรนซี ยู วัน เอ็ม
หลอดลม
อักเสบติดต่อ
ในไก่
ฝีดาษไก่
5-7 วัน
-
-
-
-
-
/
-
7-10 วัน
-
/
-
-
-
-
-
14 วัน
-
-
-
/
-
-
-
14-21 วัน
-
-
-
-
-
/
-
3 สัปดาห์
-
/
-
-
-
-
-
5 สัปดาห์
/
-
-
/
-
-
/
8 สัปดาห์
-
/
-
-
-
-
-
16 สัปดาห์
-
/
/
-
-
-
-
18 สัปดาห์
-
-
-
-
/
-
-
ทุกๆ 6-8 สัปดาห์
-
/
/
-
-
/
-
ทุกๆ 12 สัปดาห์
/
-
-
-
-
-
-
วิธีให้
ฉีดเข้า
กล้ามเนื้อ/
ใต้ผิวหนัง
หยอดตา/จมูก
ละลายน้ำ,
สเปรย์/พ่นละออง
ฉีดเข้า
กล้ามเนื้อ/
ใต้ผิวหนัง
ละลายน้ำ
ฉีดเข้า
กล้ามเนื้อ/
ใต้ผิวหนัง
หยอดตา/
จมูก
แทงปีก



การเตรียมอุปกรณ์ก่อนทำวัคซีน
1. อุปกรณ์ในการทำวัคซีน เช่น เข็มและกระบอกฉีดยา ต้องต้มในน้ำสะอาดให้เดือดนาน 15 นาที ก่อนและหลังการใช้ ห้ามแช่ในน้ำยาฆ่าเชื้อโรค
2. วัคซีนชนิดเป็นน้ำหรือน้ำมันพร้อมฉีด จะต้องทำความสะอาดจุกยางและคอขวดด้วยลำลีชุบแอลกอฮอล์ เขย่าวัคซีนให้เป็นเนื้อเดียวกัน แล้วใช้เข็มและกระบอกฉีดยาที่ต้มสะอาดแล้วดูดวัคซีนออกมาตามขนาดที่ใช้
3. วัคซีนชนิดที่จะต้องผสมก่อนใช้ ต้องใช้เข็มและกระบอกฉีดยาที่ต้มสะอาด ดูดน้ำยาละลายที่เตรียมไว้สำหรับวัคซีนเข้าไปในขวดบรรจุวัคซีน เขย่าให้เข้ากันประมาณ 2-5 นาที แล้วดูดวัคซีนออกมาตามขนาดที่จะใช้ วัคซีนที่ละลายแล้วต้องใช้ให้หมดภายใน 2 ชั่วโมง ระหว่างการใช้ต้องเก็บในกระติกน้ำแข็ง สำหรับหลอดบรรจุวัคซ๊นและอุปกรร์ในการทำ เมื่อใช้แล้วควรต้มทำลายเชื้อก่อนทิ้งหรือเก็บไว้ โดยเฉพาะวัคซีนเชื้อเป็น


ตำแหน่งบนตัวสัตว์ที่จะใช้ฉีดวัคซีน
สัตว์ปีก
1. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ ใช้เข็มเบอร์ 20-21 ยาว 1/2 นิ้ว บริเวณกล้ามเนื้อหน้าอก หรือกล้ามเนื้อโคนขาหลัง ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหน้าอกจะมีความปลอดภัยสูงกว่าฉีดเข้ากล้ามเนื้อขาหลัง เนื้องจากกล้ามเนื้อขาหลังจะมีเส้นประสาทใหญ่พาดผ่าน
2. ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ใช้เข็มเบอร์ 20-21 ยาว 1/2 บริเวณหลังคอ
3. หยอดตา ดึงหนังตาล่าง หยดวัคซีนด้วยหลอดหยดลงที่ตา
4. หยอดจมูก ใช้นิ้วมือปิดจมูกข้างหนึ่งแล้วหยดวัคซีนที่รูจมูกอีกข้างหนึ่ง เมื่อสัตว์สูดวัคซีนแล้วจึงปล่อยนิ้ว
5. แทงปีก ใช้เข็มรูปส้อมจุ่มวัคซีนในขวดให้มิดเข็ม แทงที่พังผืดของปีก (Wing Web) อย่างให้ถูกเส้นเลือด



ฉีดเข้ากล้าม

หยอดตา

หยอดจมูก

แทงปีก
 http://www.dld.go.th/service/webeggs/nativmai.html

แนวทางการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

แนวทางการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

1. การอนุรักษ์ไก่พื้นเมืองโดยเกษตรกรรายย่อย

           เป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงไก่ต่อครัวเรือนมากขึ้น และเป็นผู้ได้ประโยชน์จากไก่โดยตรง ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับเราจะหาวิธีการแบ่งปันผลประโยชน์ เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมได้อย่างไร วิธีหนึ่งที่คาดว่าได้ผล ก็คือการสนับสนุนส่งเสริมให้มีการจัดตั้งตลาดกลางไก่พื้นเมืองขึ้นทุกอำเภอหรือทุกตำบลๆ ละ 1 แห่ง เพื่อเป็นแหล่งซื้อขายแลกเปลี่ยนพันธุ์ คัดพันธุ์ ทดสอบพันธุ์ เผยแพร่ แลกเปลี่ยนความรู้ข่าวสารทั้งทางด้านวิชาการและข้อมูลด้านการตลาด ตลอดจนเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้อง จะเป็นการนำผลผลิตจากการอนุรักษ์ไก่ไปใช้ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรผู้อนุรักษ์และพัฒนาโดยตรง คาดว่าในแต่ละปีจะมีไก่พื้นเมืองออกมาสู่ตลาดมากกว่าปีละ 60 ล้านตัว เป็นมูลค่าประมาณ 5,000 ล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี เนื่องจากว่าไก่พื้นเมืองถ้าหากมีการควบคุมจำนวนไก่เล็ก ไก่ใหญ่ ไก่สาวในแต่ละฟาร์มหรือครอบครัวของเกษตรกรรายย่อยให้เหมาะสมแล้ว มีการจับขาย หรือบริโภคในครัวเรือน จะทำให้เกษตรกรได้ประโยชน์สูงสุด คือ แม้จะมีพ่อแม่ไก่จำนวนคงที่ แต่ถ้าจับขายหรือกินตัวที่โตเต็มที่แต่ไม่ใช่แก่เต็มที่ จะทำให้ลูกไก่รุ่นถัดมาและลูกไก่เล็กสามารถเติบโตขึ้นมาทดแทน เนื่องจากมีอาหารสมดุลกับปริมาณไก่ ทั้งนี้ เพราะเกษตรกรจะไม่ลงทุนซื้ออาหารที่เลี้ยงไก่เนื้อ หรือไก่ไข่ แต่จะให้เป็นเวลาอาจจะเช้าหรือเย็น นอกนั้นก็หากินเองตามธรรมชาติ เช่น ผัก หญ้า เมล็ดธัญพืชต่างๆ แมลง ซึ่งก็จะถูกจำกัดด้วยพื้นที่รอบบริเวณบ้าน ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนประชากรไก่ต่อครอบครัวต่อเดือนจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับจำนวนไก่ที่ขาย กินหรือตาย

2. ตลาดไก่พื้นเมือง : โอกาสและความเป็นไปได้


           ไก่พื้นเมืองพันธุ์แท้นับได้ว่าเป็นพันธุ์ไก่ที่ถูกจัดอันดับให้อยู่ในความนิยมขอผู้บริโภคทั่วประเทศ รองลงมาก็เป็นไก่ลูกผสมที่พ่อเป็นพันธุ์พื้นเมือง แม่พันธุ์ทางชนิดต่างๆ และสุดท้ายเป็นไก่เนื้อ โตเร็ว ขนสีขาว ที่เลี้ยงเป้นการค้า และมีจำหน่ายทั่วไป โดยทั่วไปไก่พื้นเมืองที่จำหน่ายกันทุกวันนี้ ตลาดมีความต้องการตัวที่มีขนาด 1.5-2 กก. และผู้บริโภคนิยมซื้อไก่รุ่นหนุ่มสาว โดยเฉพาะไก่สาวอายุพร้อมจะไข่หรือเริ่มไข่ แต่มีจำหน่ายไม่แพร่หลาย ราคาแพง การตลาดไม่เป็นระบบ ขายเทคโนโลยีการจัดการที่เหมาะสม มีผู้เลี้ยงเป็นเชิงธุรกิจค่อนข้างน้อย
            ตลาดไก่พื้นเมืองเป็นตลาดท้องถิ่น ซื้อขายกันในหมู่บ้าน แล้วส่งไปขายตลาดใหญ่ในจังหวัดและกรุงเทพฯ และเป็นการบริโภคภายในประเทศซึ่งก็เป็นวิธีการที่ถูกเพราะเป็นการส่งเสริมให้มีการผลิตเองบริโภคเอง และให้ประชาชนในชนบทได้มีอาหารประเภทโปรตีนพอเพียง
            ดังนั้น แนวทางในการพัฒนาการผลิตไก่พื้นเมืองให้มีจำหน่ายสม่ำเสมอตลอดปี ควรมีการศึกษาด้านการตลาดไก่พื้นเมือง เพื่อเป็นสิ่งจูงใจให้เกษตรกรได้ผลิตอย่างต่อเนื่อง เป็นการเปลี่ยนระบบการผลิตจากฤดูกาลมาเป็นผลิตต่อเนื่องตลอดปี แม้ว่าจะผลิตไม่มากต่อครัวเรือน แต่ถ้าผลิตกันเป็นแสนๆ ครอบครัวก็จะทำให้ผลผลิตรวมสูง พอเพียงกับการที่จะทำธุรกิจ ดำเนินการตลาดได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคหาซื้อได้ง่าย ราคายุติธรรม แนวโน้มที่เป็นไปได้ในปัจจุบัน คือ การเพิ่มผลผลิตไก่พื้นเมืองโดยการรวบรวมไก่พื้นเมืองส่งโรงเชือดไก่ที่อยู่ในปัจจุบันเพื่อชำแหละตัดแต่งและบรรจุหีบห่อเป็นสินค้าที่มีขบวนการผลิตอย่างถูกต้องตามหลักอนามัยและเป็นสินค้ามีคุณภาพ เหมาะที่จะส่งไปขายในตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ เช่นเดียวกับไก่พันธุ์เนื้อในปัจจุลัน เหตุผลที่เสนอให้มีการเปิดงานชำแหละไก่พื้นเมือง เนื่องจากว่าเป็นการดูดซึมปริมาณไก่ออกสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอ ในขณะเดียวกันเมื่อเกษตรกรขายไก่ใหญ่ออกไปแล้วก็จะสามารถนำไก่เล็กเข้ามาเลี้ยงทดแทน หรือไม่ก็จะทำให้ไก่เล็กและลูกไก่ที่มีอยู่เดิมได้มีโอกาสเจริญเติบโตขึ้นมา เป็นการผลิตต่อเนื่องตลอดปี ส่วนอีกประเด็นหนึ่ง คือ ผู้ผลิตส่วนใหญ่ 90% ไม่มีความชำนาญด้านการตลาด ดังนั้น จึงต้องอาศัยผู้ที่มีฝีมือ ความชำนาญด้านการตลาดเข้ามาช่วยผลักดันอีกทางหนึ่ง ซึ่งผู้มีประสบการณ์เหล่านี้จะมีความชำนาญเป็นเพิเศษสำหรับการฆ่า-ชำแหละ และบรรจุหีบห่อให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นตลาดภายในประเทศหรือต่างประเทศ ดังนั้น จึงเห็นว่าแนวโน้มในด้านนี้มีความเป็นไปได้สูงกว่า 80% 

ต้นทุนการผลิตไก่พื้นเมือง


            1. ต้นทุนการผลิตไก่พื้นเมืองหนัก 1.8 กก./ตัว ราคาหน้าฟาร์ม
-  ค่าลูกไก่
-  ค่าอาหาร 1:35
-  ค่าแรงงาน
-  ค่ายา-วัคซีน
-  ค่าน้ำ-ค่าไฟ
-  ค่าวัสดุ-อุปกรณ์โรงเรือน
-  ค่าเสียโอกาสเงินทุน
-  อื่นๆ
                   รวม
                   หรือ
9
44.1
1.44
1.49
0.58
1.08
0.9
21.0
79.59
44.22
  บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท/ตัว
บาท/กก.

             2. ต้นทุนการฆ่าแปรรูปไก่พื้นเมือง ณ หน้าโรงงาน (บาท/กก.)
-  ราคาไก่มีชีวิต ณ หน้าฟาร์ม
-  ค่าขนส่งถึงโรงงาน
                    รวม
-  จำหน่ายผลพลอยได้จากโรงงาน
    (ปีก, โครง, เครื่องใน)
*  ต้นทุนไก่ติดกระดูก
*  ต้นทุนเนื้อเพื่อส่งออก (27%)
-  ค่าแรงงานชำแหละ
-  ค่าบรรจุหีบห่อ
-  ค่าดำเนินการ
                    รวม ทุนเนื้อไก่ส่งออก 
44.22
1.00
45.22

10
35.22
130.44
3.50
1.26
4.50
139.70
 บาท
บาท
บาท

บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท

             3. ต้นทุนค่าขนส่งไปต่างประเทศ 
  
-  น้ำหนักเนื้อไก่ 1 Shipment
-  ค่าระวางไปญี่ปุ่น
-  Terminal Handling Charge
-  B/L
-  ค่ารถห้องเย็น+ประกันสินค้า
-  ค่าพิธีกร
                    รวม
                    หรือ
22,000
85,425
3,000
200
5,000
1,200
94,825
4.31
 กก.
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท/กก.

             4. รวมต้นทุนเนื้อไก่พื้นเมืองแช่แข็ง ณ ประเทศผู้ซื้อ               
                     4.1 ชนิดถอดกระดูก
      
-  ค่าเนื้อไก่พื้นเมืองแช่แข็ง
-  ค่าภาษี
-  ค่าขนส่ง
รวมต้นทุนส่งออก
                    หรือ
                    หรือ
139.70
0.81
4.31
144.81
144,810
3,292
 บาท/กก.
บาท/กก.
บาท/กก.
บาท/กก.
บาท/ตัน
US$/ton
             
                     4.2 ชนิดติดกระดูก
-  ค่าเนื้อไก่ทั้งตัว
-  ค่าบรรจุหีบห่อ
-  ค่าขนส่ง
-  ค่าภาษี
                    รวม
                    หรือ
                    หรือ
35.22
9.26
4.31
0.18
48.97
48,970
1,113







บาท/กก.
บาท/ตัน
US$/ton (44฿/$)

3. การเพิ่มมูลค่าของไก่พื้นเมือง
           เป็นวิธีแบ่ปันผลประโยชน์ให้เกษตรกรได้อีกวิธีหนึ่ง เช่น ไก่แจ้พื้นเมืองขนสีทอง ดำ หรือสีประดู่ เป็นต้น เป็นไก่สวยงามราคาแพง หรือไม่ก็สายพันธุ์ไก่ชนก็ดี เพราะถ้าชนเก่ง สายเลือดชนเก่ง ก็สามารถขายได้ราคา อีกประการหนึ่ง ไก่ชนเป็นไก่สายเลือดค่อนข้างบริสุทธิ์ และเป็นไก่ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทยมานับร้อยๆ ปี นอกจากนี้ยังเป็นไก่ที่แข็งแรง ไม่ขี้โรค กล้ามเนื้อใหญ่ ไข่ดก ลูกดก ฟักไข่ได้เอง และเมื่อนำมาประกอบอาหารมีรสชาดดี ดังนั้น การเลือกพันธุ์ที่อนุรักษ์ก็สามารถเพิ่มมูลคทมของไก่สายพันธุ์นั้นๆ ได้ อย่างไรก็ดี ไก่พันธุ์พื้นเมืองที่มีอยู่ทั่วไปทุกวันนี้ คาดว่า 80-90% เป็นไก่ที่เป็ฯสายพันธุ์ไก่ชน ดูได้จากแม่ไก่ประมาณ 90% จะมีขนสีดำ ตัวผู้จะเป็นไก่ขนเหลืองหางขาว หรือประดู่หางดำ


4. วิจัยและพัฒนาการเลี้ยงไก่พื้นเมือง

            ผสมผสานกับการปลูกพืชและการเกษตรอื่นๆ แบบผสมผสานในรูปแบบระบบการทำฟาร์มที่มีไก่พื้นเมืองเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบ เช่น มีการปลูกพืชอาหารสัตว์เลี้ยงไก่ควบคู่กันไป ตราบใดที่เกษตรกรมีอาหารให้ไก่กินก็จะเจริญและแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว การเลี้ยงไก่พื้นเมืองร่วมกับการปลูกพืชอื่นๆ เช่น การปลูกข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และถั่วชนิดต่างๆ จะเป็นทางเลือกให้เกษตรกรรายย่อยที่ไม่มีที่ทอกินมากนักหรือไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงสัตว์ใหญ่ มีรายงานไว้ว่า การเลี้ยงไก่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของกิจกรรมการเกษตร สามารถทำให้รายได้สูงกว่าเลี้ยงโค-กระบือ ในบางพื้นที่ โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ไม่มีที่ทำกินหรือเช่าที่

5. การวิจัยและพัฒนาส่วนหนึ่งเน้นไปทางอุตสาหกรรม
             เป็นการนำพันธุ์ไก่พื้นเมืองแท้ไปผสมกับไก่พันธุ์อื่นๆ เพื่อเป็นลูกผสมพื้นเมืองโตเร็ว รสชาตดี เช่นเดียวกับไก่พื้นเมือง แต่ผลิตได้ปริมาณมากเชิงอุตสาหกรรม ด้วยต้นทุนที่ต่ำ เหมาะที่จะเลี้ยบงเป็นอุตสาหกรรม เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคและต่างประเทศ


6. สนับสนุนส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสมาคมชมรม
             เพื่อประสานงานการอนุรักษ์และพัฒนาเผยแพร่ข่าวสารตลอดจนจดทะเบียนและรับรองพันธุ์ให้เกษตรกรผู้ซึ่งพัฒนาไก่ของตนเองได้คุณสมบัติตามที่ตลาดต้องการ เช่น ชนเก่ง หรือมีลักษณะพิเศษไปจากของคนอื่น ก็สามารถจดทะเบียนรับรองพันธุ์ได้ เพื่อประโยชน์ต่อการซื้อขายของเกษตรกรและผู้บริโภค
 

7. ส่งเสริมให้หน่วยราชการ เอกชน ชมรม สมาคม

             ได้ทำการศึกษาวิจัยด้านพันธุกรรมว่าไก่พื้นเมืองเป็นแหล่งพันธุกรรมมีอะไรบ้าง เช่น มี Gene ที่ต้านทานโรคอะไร อยู่ที่ใดในโครโมโซม สามารถแยกหรือตัดต่อแต่งเติมเข้าไปในโครโมโซมของสัตว์สาพันธุ์อื่นได้หรือไม่ เป็นการศึกษาหาความหลากหลายในด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งต่อไปในอนาคตอาจจะสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้

หลักเกณฑ์การตัดสินไก่ชน

หลักเกณฑ์การตัดสินไก่ชน
ลำดับ
รายการ
รายละเอียด
คะแนนเต็ม
ได้คะแนน
หมายเหตุ
1
รูปร่าง
คอ, หัว
5
ลำตัว
5
ขาแข้ง
5
นิ้ว
5
20
?
คอใหญ่ หัวยาว ลำตัวยาว
ต้นขาใหญ่ แข้งเล็ก นิ้วเรียวยาว
2
หัว
หงอน
5
ปาก
5
ตา
5
คาง
5
20
?
หงอนหินบาง กลางสูง
โคนปากยาว งุ้มเหมือนเหยี่ยว
ตาเล็กยาว (ไม่แหก)
คางรัดเพ๊ค (เหมือนนกยูง)
3
ขนและ
สร้อย
สร้อย
คอ
5
สร้อย
หลัง
5
ปีก
5
หาง
5
20
?
สร้อยคอยาว (ประบ่า)
สร้อยหลังยาว (ระย้า)
ปีกใหญ่หนา และยาว
หางพัดเจ็ด
4
ลักษณะ
ไก่ชน
ท่ายืน
5
ท่าเดิน
5
หน้าตา
5
เล็บ
5
20
?
ท่ายืนอกตั้งแบบสิงห์
ท่าเดินสง่า หน้าเล็ก ฉลาด
เล็บยาว แข็งแรง
5
สุขภาพ
สมบูรณ์
5
น้ำหนัก
5
จับ
5
ทั่วไป
5
20
?
ไก่ใหญ่ 3-4 กก.
ไก่กลาง 2-3 กก.
สุขภาพสมบูรณ์ ขนเป็นเงา
จับเต็มมือแน่น

            การคัดเลือกพันธุ์ไก่ชนที่ชนเก่ง มีน้ำอดน้ำทน ฉลาด และแข็งแรง ต้องทำการทดสอบพันธุ์ โดยให้ไก่ได้แสดงออกในการชนกัน และตัดสินโดยใช้กติกากรแข่งขันไก่กีฬา เนื่องจากเดิมการชนไก่ตามที่กฎหมายอนุญาตในปัจจุบัน มีข้อเสียคือ เข้าข่ายการทรมานสัตว์ และเน้นหนักไปในทางการพนัน ใช้เวลาต่อสู้ถึง 12 อัน อันละ 20 นาที ใช้ฝีมือของคนเข้ามามีบทบาทมาก มีการใช้เล่ห์กล เอารัดเอาเปรียบในการเปรียบไก่เข้าแข่งขัน การไขหัว ถ่างตา เข้าปาก เสริมปีก การโด๊ปยา หรือแม้แต่การวางยา ฯลฯ ดังนั้น เพื่อให้เป็นเกมส์กีฬาจริงๆ เป็นไปตามธรรมชาติไม่เป็นการทรมานสัตว์ เป็นที่ยอมรับของสากล จึงสมควรกำหนดกติกาการแข่งขันขึ้นใหม่

กติกาการแข่งขันไก่กีฬา

1. การเปรียบไก่เข้าแข่งขันใช้น้ำหนักเป็นเกณฑ์
2. การแข่งขันใช้เวลา 5 ยก และยกละ 15 นาที พัก 3 นาที โดยใช้นาฬิกาจับเวลา
3. ไก่ที่เข้ามาแข่งขันต้องสวมนวมเดือยมาตรฐาน
4. ไก่ที่เข้าแข่งขันบาดเจ็บ ในกรณีต่อไปนี้ให้จับแพ้
          4.1 ปากหลุด (ปากถอด หรือหักปล้องอ้อย)
          4.2 ปากหักเลือดไหล
          4.3 ตาปิด, ลอด หรือบวม มองไม่เห็น
          4.4 การบาดเจ็บในดุลยพินิจของกรรมการ 3 ท่าน ลงมติให้จับแพ้
5. การให้น้ำ ใช้ผ้าผืนเดียว ถังน้ำ 1 ใบ ซึ่งทางสนามแข่งขันเป็นผู้จัดให้
6. ห้ามใช้น้ำมันหม่อง หรือสารอื่นๆ ทาไก่โดยเด็ดขาด อันจะเกิดผลเสียต่อคู่แข่งขัน ถ้ากรรมการตรวจพบให้ปรับแพ้ได้ทันที
7. ห้ามใช้ยาโด๊ป ถ้าตรวจพบให้ปรับเป็นแพ้ฟาวล์
8. ผลการแข่งขันใช้วิธีนับคะแนนของคู่ต่อสู้โดยกรรมการ ตัวที่ตีคู่ต่อสู้มาก และตีถูกจุดเข้าเป้าหมายสำคัญๆ ก็ให้คะแนนมาก ตัวที่ได้คะแนนมากเป็นฝ่ายชนะ




การปรับปรุงพันธุ์ไก่พื้นเมือง

การปรับปรุงพันธุ์ไก่พื้นเมือง

           การที่จะเพิ่มมูลค่าของไก่พื้นเมืองจะต้องมีพันธุ์ไก่ที่ดี โดยเฉพาะไก่ชนจะต้องเป็นพันธุ์ที่แข็งแรง ในภาคกลางนิยมไก่ชนที่มีรูปร่างใหญ่ หนักประมาณ 3.0-4.5 กก. แต่ในภาคเหนือนิยมไก่ชนขนาดเล็ก น้ำหนักไม่เกิน 3.0 กก. ส่วนภาคใต้นิยมไก่ชนที่มีเดือยแหลมคม และทุกภาคชอบไก่ชนเก่ง การที่จะได้ไก่พันธุ์ดี ราคาสูง จะต้องทำการปรับปรุงพันธุ์ด้วยตัวเองอยู่อย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงพันธุ์มีหลักการโดยสรุป 2 หลัก ทำควบคู่กันเสมอๆ คือ หลักการผสมพันธุ์ กับหลักการคัดเลือกพันธุ์

           หลักการผสมพันธุ์  มี 2 แบบกว้าง ๆ คือ
           1. การผสมพันธุ์ระหว่าง พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่ไม่เป็นญาติกัน
           2. การผสมกันระหว่างญาติพี่น้องสายเลือดใกล้ชิด เรียกว่า การผสมแบบเลือดชิด แต่ในทางปฎิบัติเราหลีกเลี่ยงการผสมเลือดชิดค่อนข้างยาก เนื่องจากมีพ่อแม่พันธุ์จำนวนจำกัด ตามทฤษฎีแล้วเราสามารถผสมได้แต่สายเลือดไม่สูงเกินกว่า 49% โดยเฉพาะการปรับปรุงพันธุ์ไก่ให้ได้เลือดบริสุทธิ์หรือพันธุ์แท้ ถ้าผสมเลือดชิดสูงถึง 49% ก็จะได้พันธุ์ใหม่ หรือพันธุ์ของเราเองซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะพันธุ์ ในทางปฏิบัติทั่วๆ ไป เราจะพยายามให้เปอร์เซนต์การผสมเลือดชิดอยู่ระหว่า 15-25% อัตราการผสมเลือดชิดนี้จะเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ดังนั้น จึงต้องวางแผนว่าในระยะ 10 ปีข้างหน้า จะให้ฝูงไก่มีเลือดชิดกี่เปอร์เซนต์ เพื่อนำไปคำนวณหาว่า ควรจะมีพ่อแม่พันธุ์ในฝูงกี่ตัว
ตัวอย่าง 
           เราต้องการปรับปรุงพันธุ์ไก่ชน สายพันธุ์เหลืองหางขาว ซึ่งเป็นไก่ชนที่เรามีอยู่ และต้องการปรับปรุงพันธุ์ให้ดียิ่งๆ ขึ้น โดยคิดว่าจะไม่นำไก่จากที่อื่นมาผสมในระยะ 10 ปีข้างหน้า และจะพยายามหลีกเลี่ยงการผสมเลือดชิดให้มากที่สุด และกำหนดเพดานไว้ 25% หรือเท่ากับเพิ่มขึ้นปีละ 2.5% ซึ่งเป็นระดับที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไป ดังนั้น คำถามว่าเราควรตะมีพ่อแม่พันธุ์ไก่ที่ใช้สำหรับผลิตลูกทดแทนไว้ขยายพันธุ์ในปีต่อไปจำนวนกี่ตัว

วิธีคำนวณ หาจำนวนพ่อแม่พันธุ์

                1. อัตราการผสมเลือดชิดเพิ่มขึ้นต่อปี = 25/10 = 2.5%
                2. กำหนดจำนวนพ่อพันธุ์ที่เราจะใช้กี่ตัว ขึ้นอยู่กับเราว่ามีอยู่เท่าใด แต่แนะนำให้มีพ่อพันธุ์ในแต่ละปี ไม่ควรต่ำกว่า 10 ตัว ไม่เกิน 50 ตัว ที่พอเหมาะกับฟาร์มขนาดเล็กก็ประมาณ 10 ตัว ขนาดกลาง 20 ตัว
 แผนผังการผสมพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์
          หลังจากเราได้จำนวนพ่อและแม่พันธุ์ที่ใช้สำหรับผลิตลูกในการคัดเลือกพันธุ์ไว้ทดแทนในปีต่อไปแล้ว เราจำเป็นจะต้องวางแผนการผสมพันธุ์ว่าพ่อและแม่ตัวใดควรจะผสมกัน ทางวิชาการมีอยู่ 2 แบบ คือ ผสมแบบ 1 ต่อ 1 หรือ พ่อตัวหนึ่งผสมกับแม่หลายตัว เช่น 1:5 เป็นต้น แต่ที่เราได้จำนวนพ่อมา 10 ตัว แม่ 10 ตัว จึงควรวางแผนผังผสมแบบ 1:1 จะได้ลูกผสมพันธุ์ทั้งหมด 10 คู่ ซึ่งทางวิชาการเรียกว่า 10 สายพันธุ์ ในปีต่อไปจะปรับปรุงพันธุ์โดยยึด 10 สายพันธุ์เป็นหลักไปทุกๆ ปี ในแต่ละปี จะต้องผลิตลูกไก่คละเพศให้ได้คู่ละ 10-20 ตัว ในจำนวน 10-20 ตัวนี้ ให้คัดเลือกไว้ทำพันธุ์ทดแทนปีต่อไป 2 ตัว เป็นเพศผู้และเพศเมียอย่างละครึ่ง รวมลูกไก่ที่จะต้องผลิตในแต่ละปีเพื่อใช้ในการคัดเลือกพันธุ์เท่ากับ 100-200 ตัว และคัดเลือกไว้ทำพันธุ์ 10-20% ของจำนวนไก่ทั้งหมด ซึ่งคามเข้มข้นของการคัดพันธุ์ระดับนี้ จะทำให้การคัดเลือกเพื่อปรับปรุงพันธุ์ก้าวหน้าประสบผลสำเร็จ ในระยะเวลา 5-8 ปี หรือถ้าจะให้เร็วกว่านี้เราจะต้องเพิ่มจำนวนลูกที่จะต้องใช้ในการคัดเลือกพันธุ์จาก 200 ตัว เป็น 300 ตัว ซึ่งเท่ากับ (20/300)X100=6.67% การวางแผนการผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ สรุปเป็นภาพแผนผังการผสมพันธุ์ได้ดังนี้
   การคัดเลือกพันธุ์
          จากแผนผังการผสมพันธุ์ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นลูกศรชี้ให้ทำการคัดเลือกพันธุ์ไว้ทดแทนปีต่อไป การคัดเลือกพันธุ์เป็นวิธีการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงพันธุ์ คือ เราต้องการพันธุ์ไก่พื้นเมืองพันธุ์แท้ที่มีลักษณะดังนี้
           1. รูปร่างใหญ่ สวยงาม น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ที่อายุ 5-6 เดือน เพศผู้หนัก 3.5-4.0 กก. เพศเมีย 2.5-3.0 กก. หรือตามขนาดของแต่ละท้องถิ่น
           2. เพศผู้มีลักษณะเป็นไก่ชน
           3. ชนเก่ง อดทน และฉลาด
           4. สุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง และทนทานต่อโรคพยาธิ
           5. เลี้ยงง่ายในสภาพชนบททั่วไป

          
           ในทางปฏิบัติการที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ เราจะต้องมีมาตรการวิธีการและหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพันธุ์ดังนี้
           1. การเจริญเติบโต รูปร่างใหญ่ มีน้ำหนักมาก เราสามารถคัดเลือกไก่ได้ ตั้งแต่อายุ 2 เดือน โดยที่ไก่เติบโตดีที่สุด และน้ำหนักมากที่สุด เมื่ออายุ 2 เดือน ส่วนใหญ่จะเป็นไก่ที่ตัวใหญ่ และน้ำหนักมากเมื่ออายุ 5-6 เดือน
           2. การคัดเลือกเพื่อให้ได้วัตถุประสงค์ข้อ 2 และข้อ 4,5 ให้ใช้เกณฑ์การตัดสินไก่ชน